Home ปากกระจับ ปากกระจับยกมุมปาก เหมาะกับใครบ้าง อันตรายไหม

ปากกระจับยกมุมปาก เหมาะกับใครบ้าง อันตรายไหม

0
ปากกระจับยกมุมปาก เหมาะกับใครบ้าง อันตรายไหม

สำหรับคนที่มีปัญหาริมฝีปากคว่ำ จะทำให้ใบหน้าดูเศร้าหมอง ใบหน้าจะดูบึ้ง ไม่สดใส บางครั้งทำให้ดูเหมือนดุตลอดเวลา เพราะลักษณะรูปปากที่ตกหรือโค้งลงนั้นสามารถมองเห็นได้ชัดเจนบนใบหน้า แม้กระทั่งเวลายิ้มก็ยังทำให้ใบหน้าดูเศร้าอยู่ตลอดเวลา และลักษณะปากที่ตกหรือโค้งลงมาก ๆ ยังเป็นสัญญาณของอายุที่เพิ่มขึ้น การทำปากกระจับยกมุมปาก สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

ผู้ที่เหมาะกับการทำปากกระจับยกมุมปาก

  • ผู้ที่ต้องการปรับรูปปากให้สวยงามเข้ารูป
  • ผู้ที่มีปัญหารูปปากคว่ำ ดูหน้าบึ้ง ริมฝีปากตก
  • ผู้ที่ต้องการให้รูปปากดูยกขึ้น เหมือนอมยิ้ม
  • ผู้ที่มีผิวหนังบริเวณมุมปากหย่อนคล้อย ผู้ที่มีปัญหาริ้วรอย รอบ ๆ มุมปาก
  • ผู้ที่เริ่มมีอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งปัญหาจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ในการทำศัลยกรรมริมฝีปากนั้นจะมีทั้งการทำจากหนาให้บางลง และบางให้หนาขึ้นได้ รวมทั้งกรณีคนที่รูปปากดีอยู่แล้ว ก็สามารถทำให้มีทรงมากขึ้นได้ เช่น การทำให้รูปปากเป็น “ทรงปากกระจับ” บางคนเลือกทรงคันธนู บางคนเลือกทรงปีกนก ซึ่งเป็นทรงเดียวกัน ด้วยการทำให้ปากมีความโค้ง และมีส่วนนูนตรงกลางนั่นเอง

การศัลยกรรมริมฝีปากในรูปแบบต่าง ๆ มีรายละเอียด ดังนี้

ศัลยกรรมปากกระจับ

ปากกระจับ หมายถึง ปากที่มีรูปทรงโค้ง และมีส่วนนูนตรงกลาง ซึ่งคนเอเชียส่วนมาก โดยเฉพาะคนไทย จะชอบรูปทรงนี้มาก เพราะรู้สึกว่าทำแล้วหน้าตาดูหวานขึ้น รูปปากดีขึ้น

การผ่าตัดจะมี 2 แบบ ในสมัยก่อนมักใช้การตัดริมฝีปากด้านข้างออก เพื่อให้ริมฝีปากตรงกลางดูนูนขึ้น ซึ่งได้ผล แต่มีข้อเสียสำหรับคนที่ริมฝีปากบางมากอยู่แล้ว การตัดริมฝีปากเพิ่มอีกก็มีข้อเสีย เช่น บางคนยิ้มเห็นเหงือก หรือปิดปากไม่สนิท การผ่าตัดสมัยก่อนจึงมีข้อจำกัด

ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น และจากประสบการณ์ ทำให้แพทย์คิดค้นเทคนิคใหม่ ๆ ขึ้นมา เรียกว่า การทำกระจับปาก 3 มิติ โดยไม่ต้องตัดริมฝีปากออกเยอะ แต่ใช้การเย็บตรงกลางให้นูนขึ้น ให้เป็นรูปทรง

ข้อดีคือเมื่อไม่ได้ตัดริมฝีปากออกมากก็เหมาะสำหรับคนที่ปากบางอยู่แล้ว และปัญหาแทรกซ้อนก็จะน้อยลง โอกาสที่จะยิ้มเห็นเหงือกหรือปิดปากไม่สนิทก็จะน้อยลงนั่นเอง

การศัลยกรรมยกมุมปาก แก้ปัญหาปากคว่ำ

การศัลยกรรมปากบางให้หนา

คนไทยยังนิยมปากบาง หรือปากรูปทรงกระจับมากกว่า คนเอเชียส่วนมากเป็นคนหน้าเล็กอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยนิยมปากที่หนามาก ถ้าคนไข้ต้องการปากหนาจริง ๆ ก็สามารถทำได้ ด้วยการฉีดฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐาน เป็นพวก HA หรือHyaluronic Acid  ส่วนมากจะเป็นโมเลกุลขนาดเล็กฉีดเข้าไปที่ริมฝีปาก หรือว่าใช้ไขมันตัวเองมาเติมที่ริมฝีปากก็ได้

การศัลยกรรมยกมุมปาก แก้ปัญหาปากคว่ำ

คนไข้ที่มีปัญหาริมฝีปากคว่ำ จะทำให้ใบหน้าดูเศร้าหมอง บางคนก็ดูเหมือนดุตลอดเวลา ดังนั้นแพทย์จะทำการวิเคราะห์ก่อนว่า ที่รูปปากคว่ำเกิดจากอะไร บางคนอายุมาก ๆ ที่ปากคว่ำเป็นเพราะผิวหน้าหย่อนคล้อยลงมา ก็ต้องใช้การดึงหน้า ดึงมุมปากเข้ามาช่วย แต่ถ้าอายุยังน้อย ๆ ก็เป็นตามกรรมพันธุ์ที่มุมปากจะคว่ำตลอดก็สามารถผ่าตัดยกมุมปากได้

ในสมัยก่อนการผ่าตัดยกมุมปากไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากว่าหลังผ่าเสร็จ มุมปากจะถูกยกขึ้นจริง แต่จะมีแผลอยู่ด้านนอก ส่งผลให้เห็นแผลได้ชัดเจน คนจึงไม่ทำกัน ปัจจุบันนี้วงการแพทย์ได้มีการพัฒนาเทคนิคมาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันนี้สามารถยกมุมปากได้ผลที่ดี และแผลซ่อนอยู่ด้านในปากได้จึงทำให้คนนิยมทำกันมากขึ้น

 การศัลยกรรมแก้ปัญหา ยิ้มเห็นเหงือก

คนทั่วไปเวลายิ้ม จะเห็นเหงือกอย่างมาก 1- 2 มิลลิเมตร แบบนี้เรียกว่าปกติ บางคนรู้สึกมีเสน่ห์ด้วยซ้ำที่ยิ้มแล้วเห็นเหงือก
เล็ก ๆ ซึ่งบางคนถ้ายิ้มแล้วเห็นเหงือกเกิน 2 มิลลิเมตร ก็อาจเกิดผลเสียได้ บางคนทำให้ความมั่นใจหาย ไม่กล้ายิ้ม ทางการแพทย์ถ้าเป็นมากขนาดนั้นสามารถรักษาได้

การผ่าตัดรักษายิ้มเห็นเหงือกนี้ แพทย์จะต้องตรวจวิเคราะห์ก่อนว่าสาเหตุมาจากอะไร บางคนยิ้มเห็นเหงือกมาก ๆ เป็นเพราะว่ากระดูกกรามบนใหญ่ และยื่นออกมา แพทย์ก็จะทำการผ่าตัดกระดูกออก แต่บางคนกล้ามเนื้อที่ใช้ในการยกปากแข็งแรงเกินไป เวลายิ้มก็ใช้แรงเยอะก็จะเห็นเหงือกเยอะ ซึ่งสามารถใช้การฉีดโบท็อกซ์ช่วยได้

และอีกกรณี คือไม่ได้มีปัญหาจากกล้ามเนื้อ หรือกระดูกกรามใหญ่ แต่เป็นเพราะริมฝีปากด้านบนสั้น ปิดเหงือกน้อยเกินไป ก็ต้องผ่าตัดแก้ไขจากด้านใน ยืดริมฝีปากลงมาปิด

บทสรุป

ปากกระจับยกมุมปาก ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าไปมาก การที่ท่านมีปัญหารูปปากที่ไม่สวย ปากคว่ำ เมื่อคนภายนอกมองมาแล้วทำให้เราดูหน้าดุ สามารถแก้ไขด้วยการทำศัลยกรรม แต่ก่อนที่ท่านจะเข้ารับบริการท่านควรศึกษารายละเอียดการทำให้ดีทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง

ดูบทความอื่นที่ รัตตินันท์ คลินิก

About Author