Home ปากกระจับ พังผืดปากกระจับ คืออะไร อันตรายมากหรือน้อย?

พังผืดปากกระจับ คืออะไร อันตรายมากหรือน้อย?

0
พังผืดปากกระจับ คืออะไร อันตรายมากหรือน้อย?

การดูแลตนเองก่อนและหลังจากการทำปากกระจับ เป็นสิ่งที่ทุกคนที่ได้รับการศัลยกรรมปากกระจับ ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากคุณไม่ทำตามคำแนะนำของแพทย์ อาจเกิดปัญหาขึ้นหลังจากการศัลยกรรมปากกระจับได้ เช่นพังผืดปากกระจับ ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการดูแลตนเองเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

พังผืดปากกระจับ คืออะไร

พังผืดคือ เนื้อเยื่อ คลอลาเจน tpe III ถือเป็น เนื้อเยื่อปกติของเราเองที่ร่างกายของคนเรานั้นถูกสร้างขึ้นมาก เพื่อห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่กระบวนการของร่างกาย ที่หากเวลามีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ก็จะมีการสร้างเนื้อเยื่อมาห่อหุ้ม ก็คือพังผืดนั่นเอง

เคล็ดลับที่ทำให้เกิดพังผืดได้น้อยที่สุด

  1. ดูแลตัวเองก่อนผ่าตัด ควรงดแอลกอฮอล์ และงดวิตามิน อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ลดปริมาณเลือดออก พอเลือดออกน้อย ใช้เครื่องจี้น้อย เนื้อปากบาดเจ็บน้อย โอกาสเกิดไตก็น้อยลง พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ระบบไหลเวียนในร่างกายปกติ พอร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี การสมานของแผลก็ดี และไวกว่าคนที่สุขภาพไม่แข็งแรง
  2. เลือกเทคนิคผ่าตัด กับแพทย์ที่มีประสบการณ์ และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสมานและหายของแผลเป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการผ่าตัด การตัดแต่งเนื้อ ใช้เครื่องจี้ หรือเทคนิคในการเย็บแผล ก็ล้วนมีผลต่อการบาดเจ็บ และการหายของแผลเช่นกัน
  3. เลือกคลินิกที่มีความรู้ความเข้าใจ ในการรักษาพยาบาลหลังผ่าตัดเป็นอย่างดี สามารถแนะนำและให้ความใส่ใจดูแลเราได้ตลอด เพราะบางทีความกังวล หรือปัญหาที่เกิด มันก็ไม่ค่อยเลือกเวลา
  4. หลังผ่าตัด ดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดแผล การประคบร้อน-เย็น หรือใช้เจลทาบริเวณแผลเพื่อช่วยให้แผลสมานได้ดีขึ้น และทำให้ปากกลับมาใช้งานได้ไว และที่สำคัญ ก็การนวดปากอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง 2 – 3 เดือน วันละ 10 – 15 ครั้งเป็นประจำถือเป็นสิ่งที่จำให้เกิดพังผืดปากกระจับ ได้น้อยที่สุด

พังผืดปากกระจับ คืออะไร

บทความแนะนำ เติมไขมันหน้า จากเว็บไซต์ Rattinan.com

เรื่องที่ควรทราบสำหรับการตัดแต่งริมฝีปาก

  1. ก่อนการศัลยกรรมปากกระจับ แพทย์จะออกแบบรูปทรงปากโดยการวาดให้ลูกค้าดูก่อนทุกครั้ง และจะทำการตัดแต่งให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมตามความต้องการโดยปากบน:ปากล่าง มีสัดส่วนประมาณ 1: 1.6 ดังนั้นหากปากล่างไม่ได้ห้อยมากก็ไม่มีความจำเป็นต้องตัดแต่งเสมอไป
  2. แพทย์จะตัดแต่งโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ แต่ใช้เทคนิคการฉีดยาชา แบบเจ็บน้อย และเย็บแผลด้วยไหมละลายสีขาว แต่บังคับให้คนไข้ทุกรายตัดไหม เมื่อครบ 10-14วัน ตัดออกมากสุดเท่าที่จะมากได้ ส่วนที่จมปล่อยให้ละลายเองได้
  3. แพทย์จะไม่ตัดแต่งจนบางเกินไป หรือตัดบางจนผิดรูปร่างปาก ทั้งนี้จะพิจารณาเมื่อลูกค้ายิ้ม ควบคู่ด้วยเสมอ แต่หากเป็นคนปากบางอยู่แล้ว มีโอกาสที่จะบางมากขึ้น ดังนั้นต้องคิดถึงผลดีผลเสียด้วย และถ้าบางมากก็ไม่สามารถทำได้
  4. เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมา ตรงตามความต้องการ ผู้ที่รับการศัลยกรรมปากกระจับ ต้องนวดบริหารกล้ามเนื้อปากเป็นประจำทุกวันเพื่อป้องกันพังผืดปากกระจับ ประมาณ 3 เดือนเช้า-เย็น เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดหดรั้ง จนเป็นสาเหตุของปากที่ไม่เท่ากัน ยิ้มแล้วแข็ง ๆ ดังนั้นคือหน้าที่และความรับผิดชอบ ของคนไข้ทุกรายที่ตัดสินใจทำศัลยกรรมปาก แนะนำนวดเริ่มปากหลังตัดไหม 3-5วันพร้อมเจลลดแผลเป็น
  5. การให้ความสำคัญกับการดูแลแผลหลังผ่าตัด จะทำให้ได้รูปร่างปากที่สวยงาม เช่น การทำความสะอาดเช็ดคราบอาหาร-คราบเลือด-คราบปากที่ลอกออก บ้วนน้ำเกลือบ่อย ๆ การรับประทานอาหารอ่อน งดอาหารรสเปรี้ยว-ร้อน-รสจัด ทาวาสลีนให้ความชุ่มชื้นเสมอ ๆ ทานยาฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด งดบุหรี่ งดแอลกอฮอล์ งดพูดมาก เป็นต้น
  6. ผลงานที่สวยมาจากแพทย์ 50% (การออกแบบ การผ่าตัด การเย็บแผล ความรวดเร็วในการทำ) และการดูแลเอาใจใส่และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดจากคนไข้/ลูกค้า 50%
  7. ปากจะบวมมากที่สุดวันที่3 ตัดไหมเมื่อครบ 14วัน แผลจะเรียบเนียนขั้นต่ำ 30วัน ปากเข้าที่ 3-5 เดือน
  8. เรื่องที่ต้องทราบเมื่อตัดสินใจทำศัลยกรรมปากล่าง: เนื่องจากปากล่างมีต่อมน้ำลายขนาดเล็กอยู่กระจายทั่วริมฝีปาก ดังนั้นเวลาตัดปากล่าง  ผลข้างเคียงที่อาจเจอภายหลังแผลหายได้ คือ น้ำลายที่ผลิตจากต่อมน้ำลายจากปากล่างคั่งอยู่ในเนื้อเยื่อปากลักษณะจะเป็นก้อนใส ๆ นูนขึ้น ตั้งแต่ขนาดเล็กจนขนาดใหญ่ ไม่มีอันตราย โดยปกติหากเราไม่ศัลยกรรมปากล่างก็สามารถเกิดตุ่มใส ๆแบบนี้ได้เช่นกัน มักจะเกิดในบุคคลที่ชอบกัดริมฝีปากเล่น ซึ่งเวลาตุ่มใสแตกจะมีเมือก ๆ ใส ๆ
  9. กระบวนการหายของแผลแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนเร็ว บางคนช้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมและคาดการณ์ไม่ได้ ดังนั้นในขั้นตอนการดูแลแผล คนไข้ที่ตัดสินใจทำปากแล้ว จะต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเองที่จะดูแลแผลให้ดีที่สุด เพื่อผลลัพธ์ดีสุด เช่นกัน หากท่านละเลยต่อหน้าที่ผลเสียก็จะตกแก่ท่านเอง เอกสารความรู้การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด  รูปภาพทุกชิ้น ประสบการณ์จากภาพมีประโยชน์ต่อท่านเอง กรุณาศึกษาอย่างละเอียดก่อนทำการผ่าตัด

About Author