Home ปากกระจับ แผลปากกระจับ มีลักษณะเป็นอย่างไร และเกิดจากสาเหตุอะไร

แผลปากกระจับ มีลักษณะเป็นอย่างไร และเกิดจากสาเหตุอะไร

0
แผลปากกระจับ มีลักษณะเป็นอย่างไร และเกิดจากสาเหตุอะไร

ทำปากกระจับ (Bikini Lip Reduction) เป็นการผ่าตัดตกแต่งลดเนื้อบริเวณริมฝีปากทั้งส่วนบนและล่างให้ได้รูปสวยงามรับกับใบหน้า ด้วยรูปทรงปากโค้งเรียวสวยคล้ายกับผลกระจับ จึงเป็นที่มาที่เรียกว่า ปากกระจับ ซึ่งกำลังได้รับความนิยม ซึ่งเมื่อเข้ารับการผ่าตัดอาจเกิดแผลปากกระจับขึ้นได้ หากเราเลือกทำกับคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน

สาเหตุของการเกิดรอยแผลปากกระจับ

  • เกิดจากการเย็บที่ดึงรั้งเนื้อปากมากเกินไป
  • เกิดจากการเย็บแผลที่สูงเกินไป
  • เกิดจากการเย็บแผลไม่สนิท มีเนื้อสบกันไม่ดี
  • ในช่วงเวลาระหว่างผ่าตัด เสียเลือดเยอะ แพทย์ใช้เครื่องจี้เยอะ
  • หลังตัดไหม ไม่ได้นวดปากแบบถูกวิธี และสม่ำเสมอ อันนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่พบได้บ่อย

อีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยในการทำศัลยกรรมปากกระจับ คือการเกิดแผลเป็นแข็ง หรือริมฝีปากแข็งเป็นไต ทำให้ปากที่ทำมาใหม่ดูไม่นุ่มนิ่มเป็นธรรมชาติ หรือที่แย่กว่านั้นคือรอยกรีดที่แข็งก็อาจรั้งให้ปากดูเบี้ยว หรือยิ้มได้ไม่สุด ซึ่งทำให้หลายคนกังวลใจมากว่าปัญหานี้จะคงอยู่ตลอดไปหรือเปล่า

การเกิดแผลเป็นแข็งหลังทำศัลยกรรมปากนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ และส่วนใหญ่จะค่อย ๆ หายไปเอง แต่ก็มีไม่น้อยที่แผลผ่าตัดกลายเป็นพังผืดและทำให้เกิดปัญหาถาวรได้ เรามาดูกันดีกว่าว่า แผลปากกระจับเกิดจากอะไร แล้วทำปากกระจับแบบไหนถึงจะไม่เสี่ยงเกิดแผลเป็นแข็ง

การเกิดแผลเป็นนั้นเป็นกระบวนการธรรมชาติในการสมานแผล เมื่อเราไปศัลยกรรมมาแล้วเกิดบาดแผลขึ้น แผลจะมีการบวมอักเสบในช่วงสัปดาห์แรก จากนั้นจะค่อย ๆ แห้งสนิทและบวมน้อยลง ในช่วงนี้ร่างกายเราจะสร้างคอลลาเจนและเนื้อเยื่อ
ต่าง ๆ ขึ้นมาชดเชยของเดิม

แต่การเรียงตัวของคอลลาเจนจะยังคงสะเปะสะปะ ไม่เป็นระเบียบ ทำให้แผลเป็นยังดูนูนแข็งเป็นไตอยู่ หลายคนจึงรู้สึกตึงที่ริมฝีปาก หรือสังเกตว่าปากตัวเองดูเบี้ยว เป็นแผ่นหนา ซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ 3 – 6 เดือน แผลเป็นแข็งถึงจะค่อย ๆ คลายลง จนริมฝีปากจะกลับมานิ่มตามปกติ

หลายคนที่พบปัญหาอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น แผลเป็นกลายเป็นพังผืดถาวร รักษาไม่หาย หรือผิวหนังสร้างคอลลาเจนมากไป จนเกิดเป็นแผลคีลอยด์ ซึ่งแต่ละคนจะมีโอกาสเกิดแผลเป็นแข็งได้มากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • เทคนิคการผ่าตัดของแพทย์ ซึ่งแพทย์บางคนอาจใช้การจี้ความร้อนเพื่อสร้างรอยมุมปากกระจับ หรือการเย็บแผลไม่ประณีต ขาดความชำนาญ ก็ทำให้มีโอกาสเกิดแผลเป็นแข็งได้มากขึ้น
  • การสมานแผลตามธรรมชาติของร่างกายแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ทำให้บางคนเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นนูน หรือริมฝีปากแข็งเป็นไตได้มากกว่าคนอื่น ๆ
  • การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด คนไข้บางคนอาจทำความสะอาดแผลไม่ดีพอ ทำให้แผลบวม อักเสบ เป็นหนอง แผลปริออกจากกัน แผลเป็นจึงยิ่งมีขนาดใหญ่ จนกลายเป็นแผ่นแข็งและพังผืดได้ในที่สุด

แผลปากกระจับ รักษายังไงดี

ทำปากกระจับอย่างไร ไม่ให้เสี่ยงเป็นแผล

  • ขั้นตอนแรกเลยที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือการเลือกคลินิกให้ดีการเลือกหมอดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ดังนั้นก่อนเข้ารับบริการทำปากจึงควรหาข้อมูลจากรีวิวต่าง ๆ แล้วเลือกทำปากกระจับกับคลินิกที่น่าเชื่อถือ มีเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัย มีคุณหมอผู้มีประสบการณ์และชำนาญในการศัลยกรรมปาก เพราะการผ่าตัดให้เนี้ยบกริบแต่แรก จะช่วยลดโอกาสเกิดแผลเป็นแข็งได้มากทีเดียว
  • รักษาความสะอาดการดูแลแผลให้ดีด้วยการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ป้องกันไม่ให้แผลโดนน้ำ และกินยาตามที่แพทย์แนะนำ จะช่วยป้องกันไม่ให้แผลอักเสบติดเชื้อ แถมยังลดโอกาสเกิดแผลเป็นแข็งและพังผืดได้อีกด้วย
  • หมั่นบีบนวดการหมั่นบีบนวดริมฝีปากเป็นประจำ ตั้งแต่หลังตัดไหมไปจนกว่าแผลเป็นแข็งจะคลายลง รวมถึงให้พยายามขยับริมฝีปากบ่อย ๆ ด้วยการดึงปาก การยิ้ม การพูด

และตามด้วยการทาลิปบาล์มเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ในช่วงแรก ๆ เวลานวดหลายคนอาจรู้สึกเจ็บจนน้ำตาไหล แต่พอแผลแห้งดีแล้วความเจ็บจะหายไปเอง และริมฝีปากก็จะค่อย ๆ นุ่มลงตามธรรมชาติด้วย

บทสรุป

แผลปากกระจับ จะไม่เกิดขึ้นหากท่านเลือกทำกับศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์ ดังนั้นก่อนที่ท่านจะเข้ารับบริการท่านควรที่จะศึกษาหาข้อมูลสถานบริการ แพทย์ที่ให้บริการต้องมีความเชี่ยวชาญ และท่านสามารถศึกษาได้จากรีวิวของผู้ที่เคยเข้ารับบริการจากหน้าเพจของคลินิกนั้น ๆ หรือจากตามกระทู้พันทิป ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเข้าใช้บริการ

About Author