สาว ๆ ที่กำลังมีปัญหาปัญหาริมฝีปากตก หรือริมฝีปากคว่ำ และการแก้ปัญหายิ้มเห็นเหงือก ในปัจจุบันการศัลยกรรมปากกระจับปีกนกยกมุมปาก ได้รับความนิยมมากที่สุด สามารถตอบโจทย์ให้กับสาว ๆ ไม่ต้องวิตกกังวลใจอีกต่อไป ช่วยแก้ปัญหาที่ทำให้สาว ๆ ได้มีความมั่นใจเพิ่มมากยิ่งขึ้น ก่อนการตัดสินใจ สาว ๆ ควรศึกษาหาข้อมูลเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การศัลยกรรมริมฝีปากในรูปแบบต่าง ๆ
การทำศัลยกรรมริมฝีปากมีหลายแบบ ดังนี้
- ศัลยกรรมปากกระจับ
ปากกระจับ หมายถึง ปากที่มีรูปทรงโค้ง และมีส่วนนูนตรงกลาง ซึ่งคนเอเชียส่วนมาก โดยเฉพาะคนไทย จะชอบรูปทรงนี้มาก เพราะรู้สึกว่าทำแล้วหน้าตาดูหวานขึ้น รูปปากดีขึ้น สำหรับการผ่าตัดมี 2 แบบ ในสมัยก่อนมักใช้การตัดริมฝีปากด้านข้างออก เพื่อให้ริมฝีปากตรงกลางดูนูนขึ้น ซึ่งได้ผล แต่มีข้อเสียสำหรับคนที่ริมฝีปากบางมากอยู่แล้ว การตัดริมฝีปากเพิ่มอีกก็มีข้อเสีย เช่น บางคนยิ้มเห็นเหงือก หรือปิดปากไม่สนิทเลยด้วยซ้ำ การผ่าตัดสมัยก่อนจึงมีข้อจำกัด แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ และจากประสบการณ์ ทำให้แพทย์คิดค้นเทคนิคใหม่เฉพาะที่โรงพยาบาลบางมด เรียกว่า การทำกระจับปาก 3 มิติ ด้วยเทคนิคบางมด ไม่ต้องตัดริมฝีปากออกเยอะ แต่ใช้การเย็บตรงกลางให้นูนขึ้น ให้เป็นรูปทรง ข้อดีคือเมื่อไม่ได้ตัดริมฝีปากออกมากก็เหมาะสำหรับคนที่ปากบางอยู่แล้ว และปัญหาแทรกซ้อนก็จะน้อยลง โอกาสที่จะยิ้มเห็นเหงือกหรือปิดปากไม่สนิทก็จะน้อยลงนั่นเองครับ
- การศัลยกรรมปากบางให้หนา
คนไทยยังนิยมปากบาง หรือปากรูปทรงกระจับมากกว่า คนเอเชียส่วนมากเป็นคนหน้าเล็กอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยนิยมปากที่หนามาก แต่ชาวตะวันตกส่วนมากจะนิยมริมฝีปากที่หนา ถ้าคนไข้ต้องการปากหนาจริง ๆ ก็สามารถทำได้ ด้วยการฉีดฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐาน เป็นพวก HA หรือHyaluronic Acid ส่วนมากจะเป็นโมเลกุลขนาดเล็กฉีดเข้าไปที่ริมฝีปาก หรือว่าใช้ไขมันตัวเองมาเติมที่ริมฝีปากก็ได้
- การศัลยกรรมยกมุมปาก แก้ปัญหาปากคว่ำ
คนไข้ที่มีปัญหาริมฝีปากคว่ำ จะทำให้ใบหน้าดูเศร้าหมอง บางคนก็ดูเหมือนดุตลอดเวลา เพราะฉะนั้นต้องวิเคราะห์ก่อนว่า ที่รูปปากคว่ำเกิดจากอะไร บางคนอายุมาก ๆ ที่ปากคว่ำเป็นเพราะผิวหน้าหย่อนคล้อยลงมา ก็ต้องใช้การดึงหน้า ดึงมุมปากเข้ามาช่วย แต่ถ้าอายุยังน้อย ๆ ก็เป็นตามกรรมพันธุ์ที่มุมปากจะคว่ำตลอดก็สามารถผ่าตัดยกมุมปากได้ปากกระจับปีกนกยกมุมปาก ในอดีตการผ่าตัดยกมุมปากไม่ค่อยได้รับความนิยมมาก เพราะหลังผ่าเสร็จแล้ว มุมปากยกขึ้นจริง แต่จะมีแผลอยู่ด้านนอก ส่งผลให้เห็นแผลได้ชัดเจน โดยมากจึงไม่ทำกัน ต่อมามีการพัฒนาเทคนิคมาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันสามารถยกมุมปากได้ผลที่ดี และแผลซ่อนอยู่ด้านในปาก
- การศัลยกรรมแก้ปัญหา ยิ้มเห็นเหงือก
การยิ้มเห็นเหงือก ทางภาษาแพทย์เรียกว่า กัมมี่ สไมล์ (gummy smile) คนทั่วไปเวลายิ้ม จะเห็นเหงือกอย่างมาก 1- 2 มิลลิเมตร แบบนี้เรียกว่าปกติ บางคนรู้สึกมีเสน่ห์ด้วยซ้ำที่ยิ้มแล้วเห็นเหงือกเล็ก ๆ ซึ่งบางคนถ้ายิ้มแล้วเห็นเหงือกเกิน 2 มิลลิเมตร ก็อาจเกิดผลเสียได้ บางคนทำให้ความมั่นใจหาย ไม่กล้ายิ้ม ทางการแพทย์ถ้าเป็นมากขนาดนั้นสามารถรักษาได้
การเตรียมตัวก่อนทำปากกระจับ
- ก่อนทำปากกระจับ คนไข้ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินรูปทรงปากก่อนรับการผ่าตัดทุกครั้ง เพื่อคุณหมอจะได้ทำการวางแผนการผ่าตัดได้อย่างเหมาะสม พูดคุยเรื่องทรงที่อยากได้ และผลลัพธ์ที่ได้
- คนไข้ต้องศึกษาข้อมูล การทำปากกระจับทั้งก่อนทำ และหลังทำ รวมวิธีการการดูแลตัวเอง
- แจ้งคุณหมอให้ทราบถึงประวัติโรคประจำตัว ยาและอาหารเสริมที่รับประทานอยู่ ประวัติการแพ้ยา
- งดทานยาแอสไพลิน 1สัปดาห์
- งดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ก่อนทำ 2 สัปดาห์ เพราะทำให้เลือดออกระหว่างการผ่าตัดมากกว่าปกติ แผลหายช้า
- งดวิตามินและอาหารเสริม 1 -2 สัปดาห์
- ระวังไม่ให้ริมฝีปากมีแผลพุพอง ปากอักเสบ
- รักษาร่างกายให้แข็งแรง ไม่ให้เจ็บป่วย และพักผ่อนให้เพียงพอ
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดทำปากกระจับ
ทำความสะอาดแผลผ่าตัดด้วยน้ำเกลือ
- ใช้สำลีชุบน้ำเกลือเช็ดออกเบา ๆ อย่าเช็ดแรงเพราะจะทำให้เลือดออก
- ไม่ปล่อยให้เกิดคราบเลือดแข็งบริเวณแผลผ่าตัด หรือเมือกขาวจากน้ำลาย เพราะแผลจะปิดไม่สนิท แผลหายช้า เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ประคบเย็นบริเวณรอบบริเวณปาก
- นอนหนุนหมอนสูงในช่วงแรก
- ทานอาหารอ่อน ๆ งดอาหารรสจัด งดอาหารร้อนหรือเย็นเกินไป
- งดอาหารทะเล อาหารหมักดอง อาหารแสลง เช่น ปลาร้า ผลไม้ดอง
- งดดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่หลังทำ
- งดแปรงฟัน 3 วัน ใช้น้ำเกลือบ้วนปาก และเช็ดแผลทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
- งดหัวเราะ หรืออ้าปากกว้าง ๆ 14วัน เพื่อป้องกันแผลแยก
- จัดฟัน เปลี่ยนเหล็กดัดฟันได้หลังทำปาก 1เดือน
- หลังตัดไหม ให้นวดปากทุกวัน 3 เดือน เพื่อลดพังผืด เนื้อที่แข็งเป็นไต และทำให้ปากเข้ารูปเร็วขึ้น โดยการเรียนรู้ วิธีนวดปากกระจับหลังตัดไหมกับคุณหมอ
- งดออกกำลังกาย อย่างน้อย 1 เดือน