
การทำปากกระจับ เป็นการศัลยกรรมอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากสาว ๆ เป็นจำนวนมาก และการทำปากกระจับเป็นการผ่าตัดตกแต่งลดเนื้อบริเวณริมฝีปากทั้งส่วนบนและล่างให้ได้รูปสวยงามรับกับใบหน้า ด้วยรูปทรงปากโค้งเรียวสวยคล้ายกับผลกระจับ ซึ่งกำลังได้รับความนิยม โดยแพทย์จะผ่าตัดตกแต่งริมฝีปากบนด้านซ้ายและขวาให้โค้งแหลมคล้ายถ้วยที่คว่ำไว้ และให้ทั้ง 2 ด้านโค้งต่ำลงบรรจบกันตรงกลาง ในขณะที่ริมฝีปากล่างจะถูกตัดแต่งเนื้อบางส่วนออกไปให้โค้งคล้ายรูปทรงสามเหลี่ยม หรือทำให้ริมฝีปากล่างบางลงและโค้งได้รูปรับกับริมฝีปากบน และการทำปากกระจับนั้นก็มีหลายแบบนอกจากการผ่าตัดก็จะมีการฉีดฟิลเลอร์ปากกระจับที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน และการทำปากกระจับนั้นก็จะมีข้อห้าม ของการทำปากกระจับ อยู่ แต่จะห้ามเรื่องใดนั้นวันนี้เรามีคำตอบ แต่ก่อนที่เราจะไปดูข้อห้าม นั้นเรามาดูขั้นตอนการทำปากกระจับว่ามีขั้นตอนการทำอย่างไรก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกทำปากกระจับง่ายขึ้น พร้อมแล้วเราไปดูขั้นตอนการทำปากกระจับกันเลย
ก่อนการทำปากกระจับต้องเตรียมตัวอย่างไร
ก่อนที่คุณคิดจะทำปากกระจับคุณจะต้องศึกษาข้อมูลการทำปากกระจับอย่างละเอียด โดยดูได้จากการรีวิว หรือปรึกษากับแพทย์ได้ถึงผลดี ผลเสีย ความเสี่ยง ค่าใช้จ่าย และการพักรักษาตัวหลังการผ่าตัด และผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติทางการแพทย์ การรักษาในปัจจุบัน อาการป่วย การแพ้ยา และโรคประจำตัว เพื่อให้แพทย์สามารถแนะนำและวางแผนการผ่าตัดได้อย่างเหมาะสม
ขั้นตอนการทำปากกระจับ
เมื่อคุณปรึกษาคุณหมอถึงผลดี ผลเสีย ความเสี่ยง ค่าใช้จ่ายแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการผ่าตัดทำปากกระจับโดยขั้นตอนการผ่าตัดทำปากกระจับสามารถทำได้ดังนี้
- ก่อนการผ่าตัดคุณหมอจะทำการวาดเส้นบนริมฝีปากเพื่อทำเครื่องหมายเนื้อส่วนที่ต้องผ่า
- เมื่อทำการวาดรูปริมฝีปากแล้ว คุณหมอจะฉีดยาชาเฉพาะที่ในบริเวณที่จะทำการผ่าตัด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดในขณะทำการผ่าตัด โดยผู้ป่วยจะยังรู้สึกตัวในขณะที่ทำการผ่าตัด
- เมื่อยาชาออกฤทธิ์คุณหมอจะทำการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อส่วนด้านในของริมฝีปากออกไป
- หากริมฝีปากของคนไข้ไม่เท่ากันหมอจะทำการตัดริมฝีปากด้านใดด้านหนึ่งออก เพื่อให้ริมฝีปากเท่ากันและได้รูปตามที่ต้องการ โดยหมอจะผ่าแผลเป็นรอยหยักเพื่อให้แผลสมานตัวได้ง่าย รวมทั้งช่วยป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น ในขั้นตอนนี้ แพทย์จะระวังไม่ให้ผ่าไปโดนเนื้อเยื่อซึ่งเป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่ใช้ในการพูดและการเคลื่อนไหวของปาก และรอยแผลผ่าตัดที่เริ่มกรีดห่างจากมุมปากด้านในอย่างน้อย 5 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นที่มุมปาก ซึ่งจะทำให้ปากตีบแคบลง และไม่ให้รอยแผลเป็นกลายเป็นที่สังเกตได้อย่างชัดเจน
- หลังจากนั้นคุณหมอจะทำการเย็บปิดแผลให้ได้รูปร่างเป็นปากกระจับ โดยหมอจะเย็บปิดแผลด้วยปมที่แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ด้ายหลุด และอาจเย็บแผลเป็นรูปฟันปลาในบางจุดเพื่อตกแต่งแผลและป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นนูนไม่สม่ำเสมอกัน
- เพราะว่าปากเป็นอวัยวะที่ต้องสัมผัสกับน้ำและความชื้นจากน้ำลาย และมีการขยับอยู่เสมอ แผลจากการผ่าตัดปากกระจับจึงต้องใช้เวลานานกว่าแผลจะดีขึ้นและสมานตัว ซึ่งจะเป็นเวลาประมาณ 7-9 วัน
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดปากกระจับ
- สามารถติดเชื้อได้ง่าย หากการดูแลรักษาไม่ถูกวิธี
- แผลที่ผ่าตัดจะมีอาการปวดอยู่ตลอดเวลา หากได้รับการกระทบกระเทือนก็จะทำให้การปวดนั้นรุนแรงขึ้น
- บริเวณแผลผ่าตัดอาจจะมีรอยนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
- ริมฝีปากอาจจะไม่เท่ากัน ทั้งริมฝีปากบนกับล่าง หรือริมฝีปากกับใบหน้า
- อาจจะเกิดถุงน้ำในช่องปากได้
การทำปากกระจับมีข้อห้าม ของการทำปากกระจับในการทำอย่างไรบ้าง
สำหรับข้อห้าม ของการทำปากกระจับ มีดังนี้
- คนไข้ที่มีอาการปากบวมก่อนจะผ่าตัด จะไม่สามารถทำการผ่าตัดปากกระจับได้
- มีการอักเสบในบริเวณฝีปากอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้การผ่าตัดยากขึ้น และอาจต้องผ่าตัดซ้ำหลายครั้งกว่าจะได้ผลการรักษาที่เป็นที่พอใจ
- คนไข้ที่ไม่พร้อมจะทำการผ่าตัดหรือคนไข้มีสภาพจิตใจที่ไม่มั่นคงไม่ควรผ่าตัด เพราะการผ่าตัดศัลยกรรมอาจส่งผลกระทบต่อสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยได้
และนี้ก็คือข้อห้าม ของการทำปากกระจับ ที่คุณจะต้องรู้ไว้หากคิดจะทำปากกระจับ คุณจะต้องไม่มีภาวะเหล่านี้อย่างเด็ดขาด หากคุณมีภาวะเหล่านี้รีบปรึกษาหมอแล้วทำการรักษาภาวะเหล่านี้ก่อนการผ่าตัดทำปากกระจับ เพื่อให้การทำปากกระจับของคุณได้ผลเร็ว และเห็นผลอย่างชัดเจน เพื่อให้คุณมีปากกระจับที่สวยงามได้รูปนั่นเอง