
สำหรับใครที่มีปัญหาปากหนา ปากห้อย ช่วยคุณได้ ปากเปลี่ยนเปลี่ยนปากหนา ห้อย ให้เป็นทรงสวย บางเล็กลงได้ เทคนิคการเย็บละเอียดสวย เป็นการทำศัลยกรรมความงามด้วยการผ่าตัดตกแต่งลดเนื้อบริเวณริมฝีปากทั้งส่วนบนและล่างให้ได้รูปสวยงามรับกับใบหน้า ด้วยรูปทรงปากโค้งเรียวสวยคล้ายกับผลกระจับ จึงเป็นที่มาที่เรียกว่า ปากกระจับ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมสามารถแก้ปัญหาของคุณได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องวิตกกังวลใจอีกต่อไป
ลักษณะของริมฝีปากที่ดี
ลักษณะของริมฝีปากที่ดี ต้องอวบอิ่ม มีขอบ มีหยัก มุมปากทั้งสองข้าง ต้องมีลักษณะตรง หรือช้อนขึ้นเล็กน้อย และได้รูป เหมาะสมกับขนาดของใบหน้า เช่น ใบหน้าใหญ่ควรมีรูปปากกว้าง ใบหน้าอ้วนควรมีริมฝีปากหนา ใบหน้าเล็กควรมีริมฝีปากบางหรือเล็ก เวลาหุบปาก ริมฝีปากบนและล่างต้องปิดสนิท มีรอยพับย่นเป็นระเบียบ รอยพับย่นนี้เปรียบเหมือนสปริงเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในขณะที่พูด ยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้ ริมฝีปากจะต้องมีสีอมชมพู มีความชุ่มชื้น และมีประกายสดใสเป็นธรรมชาติตลอดเวลา
ปากกระจับเหมาะสำหรับใคร
การผ่าตัดศัลยกรรมทำปากกระจับบนล่างสามารถทำได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชายที่มีปัญหาเหล่านี้
- มีริมฝีปากบน ล่างหนา ไม่สวยงาม
- ริมฝีปากด้านบนไม่มีความหยักโค้ง
- ผู้ที่ไม่มีขอบปาก ต้องการสร้างขอบปากชัดเจน เห็นรูปทรงปากสวยงาม
- ริมฝีปากบางและต้องการเพิ่มความอวบอิ่มให้ริมฝีปากดูโดดเด่น
ปากกระจับบนล่าง มีข้อจำกัดอยู่บ้างโดยเฉพาะในรายที่มีริมฝีปากบางมาก ๆ เนื้อปากน้อย ดังนั้นต้องให้แพทย์ประเมินอาการและวางแผนการผ่าตัด หรือพิจารณาเลือกวิธีการที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสวยงามเป็นธรรมชาติมากที่สุด
เตรียมตัวก่อนผ่าตัดศัลยกรรมปาก
เพื่อให้การผ่าตัดปากกระจับได้ผลดี ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดควรเตรียมตัว ดังนี้
- งดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์
- งดแอลกอฮอล์ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์
- งดยากลุ่ม Aspirin หรือ Ibuprofen ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์
- งดวิตามิน อาหารเสริม ยาลดน้ำหนัก สมุนไพรทุกชนิดก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์
- งดแต่งหน้าก่อนเข้าผ่าตัด
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- แจ้งประวัติการฉีด เสริม และตกแต่งใบหน้าทุกประเภทอย่างละเอียด
- แจ้งประวัติโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา และยาที่ใช้เป็นประจำ
การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัดจะทำให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาดีที่สุด และป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการทำปากกระจับ
เมื่อตัดสินใจทำปากกระจับ ขั้นตอนในการผ่าตัด มีดังนี้
- ก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องนอนนิ่งบนเตียงผ่าตัด แพทย์จะใช้ปากกาวาดเส้นบนริมฝีปากเพื่อทำเครื่องหมายเนื้อส่วนที่ต้องผ่า
- เมื่อวาดเส้นจนได้รูปร่างปากที่ต้องการแล้ว แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ในบริเวณที่จะทำการผ่าตัด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดในขณะทำการผ่าตัด โดยผู้ป่วยจะยังรู้สึกตัวในขณะที่ทำการผ่าตัด
- จากนั้น แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อส่วนด้านในของริมฝีปากออกไป
หากเนื้อริมฝีปากด้านในมีน้อย แพทย์อาจต้องตัดเนื้อริมฝีปากด้านนอกด้วยเพื่อช่วยให้ปากได้รูปตามที่ต้องการ โดยแพทย์จะผ่าแผลเป็นรอยหยักเพื่อให้แผลสมานตัวได้ง่าย รวมทั้งช่วยป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น ในขั้นตอนนี้ แพทย์จะระวังไม่ให้ผ่าไปโดนเนื้อเยื่อซึ่งเป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่ใช้ในการพูดและการเคลื่อนไหวของปาก และรอยแผลผ่าตัดที่เริ่มกรีดห่างจากมุมปากด้านในอย่างน้อย 5 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นที่มุมปาก ซึ่งจะทำให้ปากตีบแคบลง และไม่ให้รอยแผลเป็นกลายเป็นที่สังเกตได้อย่างชัดเจน
- แพทย์จะเย็บปิดแผลให้ได้รูปร่างเป็นปากกระจับ โดยแพทย์จะเย็บปิดแผลด้วยปมที่แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ด้ายหลุด และอาจเย็บแผลเป็นรูปฟันปลาในบางจุดเพื่อตกแต่งแผลและป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นนูนไม่สม่ำเสมอกัน
- เนื่องจากปากเป็นอวัยวะที่ต้องสัมผัสกับน้ำและความชื้นจากน้ำลาย และมีการขยับอยู่เสมอ แผลจากการผ่าตัดปากกระจับจึงต้องใช้เวลานานกว่าแผลจะดีขึ้นและสมานตัว ซึ่งจะเป็นเวลาประมาณ 7-9 วัน
วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าตัดปากกระจับ
- หลังจากเข้ารับการรักษา ควรประคบเย็นใน 48 ชั่วโมงแรก
- ใช้วิธีการบ้วนปาก แทนการแปรงฟัน 3 วันหลังผ่าตัด
- ล้างแผลทุกวันจนถึงวันตัดไหม
- ตัดไหม 5-7 วัน พิจารณาตามสภาพแผล
- รับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
- ควรงดบุหรี่ และแอลกอฮอล์
- หากมีอาการช้ำบวมให้ประคบอุ่นหลังตัดไหมแล้ว
- เมื่อเกิดปัญหาติดต่อพนักงานและพบแพทย์ทันที
การพักฟื้นหลังการผ่าตัด
เมื่อผ่าตัดทำปากกระจับเสร็จ และผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดที่เป็นอันตราย แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดหลังยาชาหมดฤทธิ์ และผู้ป่วยสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ตามปกติ โดยแพทย์จะแนะนำแนวปฏิบัติเพื่อการพักฟื้น และวิธีการดูแลแผล ซึ่งประกอบด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ปรึกษาแพทย์หรือกลับมาหาแพทย์เมื่อพบภาวะแทรกซ้อน และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เพราะอาจส่งผลให้แผลสมานตัวช้า